วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2556

1.E- Office คืออะไร และมีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับ oisE- Office  คืออะไร
    การนำเอา ข้อมูล ที่ มีอยู่ ใน Server ที่ใช้งานปัจจุบัน  นำมาจัดเลือกข้อมูล ที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็น เอกสาร  Word, Excel ,Powerpoint  ,PDF ,JPG ,BMP  ฯลฯ  นำมา Share ข้อมูล ให้อยู่ในระบบของ Web Server  และระบบการกำหนด รหัสผ่าน ในการเข้าถึงข้อมูล ที่ต้องการ โดยการกำหนด User และ Password    เพื่อให้สามารถใช้งาน  ข้อมูล ต่าง ผ่านระบบ Internet ( Internet Explorer ) ใช้งานได้ ทั่วทุกที่ เพื่อไม่ให้ขาดข้อมูล หรือเอกสาร สำคัญๆ  ณ ในเวลานั้นอย่างรวดเร็ว รองรับเอกสาร doc ,xls ,ppt ,jpg ,bmp ,pdf    ( และสามารถดูตัวอย่างของเอกสารได้ ใน doc ,xls ,pdf)  มีระบบการป้องการเอกสาร โดยการกำหนด รหัสผ่าน มีระบบ User และ Password สามารถ สร้าง Slide Show ดูได้  ในรูปแบบของ jpg  file ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก และอื่นๆ อีกมากมาย
OIS. คือ อะไร ระบบสารสนเทศสำนักงาน.Office Information System (OIS)
-สำนักงานที่มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินงานเกี่ยวกับงานสำนักงาน เพื่อให้ได้สารสนเทศ มาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจต่างๆ ในการบริหารให้ เป็นไปอย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์และมีความเสี่ยงต่อความผิดพลาดน้อย1.ระบบการจัดการเอกสาร ได้แก่การผลิตเอกสารและนำเสนอ
-การประมวลคำ (Word  Processing)
-การจัดพิมพ์ตั้งโต๊ะ (Desktop Publishing)
-การใช้ตารางอิเล็คทรอนิคส์  (Electronic Spreadsheet)
-งานด้านการเก็บข้อมูล (Database)
-การนำเสนอผลงาน (Presentation)
ระบบการประมวลภาพ(Image Processing System)
เป็นระบบที่มีการประมวลผลโดยอาศัยรูปภาพ โดยการอาศัยอุปกรณ์ในการสแกนภาพเข้าไปในคอมพิวเตอร์
การทำสำเนาเอกสาร(Reprographics)
เป็นกระบวนการทำสำเนาเอกสารต่าง ๆ  เพื่อที่จะสามารถแจกจ่ายเอกสารให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องได้รวดเร็ว
หน่วยเก็บข้อมูลถาวร(Archival Storage)
ปัจจุบันเอกสารต่าง ๆ  ได้ถูกเก็บบันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง  เช่น  จานแม่เหล็ก  (Disk)  แผ่นแม่เหล็ก  (Diskette)  เทปแม่เหล็ก
2.ระบบจัดการข่าวสาร
ไปรษณีย์อิเล็คทรอนิคส์ (Electronic mail : E-mail)
การส่งข่าวสารไปยังบุคคลอื่น . โดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์  โมเด็ม  และสื่อในการติดต่อ  เช่น  สายโทรศัพท์ และอาศัยที่อยู่ในรูปของไปรษณีย์อิเล็คทรอนิคส์ เช่น XXX@mail.rid.go.th สมัครเป็นสมาชิกกับเว็บไซต์ที่ให้บริการ ในปัจจุบันมีเว็บไซด์ที่ให้บริการฟรี เช่น www.ikool.com www.yahoo.com www.hotmail.com
กระดานข่าว(Web Board) 
การฝากข่าวสารผ่านทางเครือข่ายถึงผู้รับ เป็นบริการอีกรูปแบบหนึ่งซี่งผู้สนใจสามารถเข้าไปอ่านและแสดงความคิดเห็นได้ กระดานข่าวสามารถใช้ได้ทั้งอินเทอร์เน็ต และอินทราเน็ต
ไปรษณีย์เสียง ( Voice mail )
เป็นระบบที่ช่วยเก็บเสียงพูดของผู้ใช้โทรศัพท์ที่ติดต่อเข้ามา  โดยที่เราไม่อยู่ที่โต๊ะทำงานหรือสำนักงาน
โทรสาร (Facsimile)
เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการส่งข้อความ  รูปภาพ  จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง  โดยอาศัยเครื่องโทรสารและสายโทรศัพท์
3.ระบบประชุมทางไกล
การประชุมด้วยเสียง (Audio teleconferencing)
เป็นการประชุมทางไกลหรือการติดต่อสื่อสารทางไกล  โดยคู่สนทนาจะสามารถได้ยินแต่เพียงผู้ที่เกี่ยวข้องในการประชุมเท่านั้น
การประชุมด้วยภาพ (Video teleconferencing)
เป็นการประชุมทางไกล  โดยผู้ร่วมประชุมสามารถที่จะติดต่อพูดคุยกันได้  โดยผู้สนทนาจะได้ยินเสียงแลภาพของคู่สนทนาในขณะที่มีการประชุม
โทรทัศน์ภายใน (In house television)
เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อทางธุรกิจ  โดยสำนักงานจะมีการกระจายข่าวให้สมาชิก  เพื่อเอื้ออำนวยในการติดต่อสั่งซื้อสินค้า  โดยผ่านโทรทัศน์ที่เป็นช่วงสถานีของสำนักนั้น
การทำงานทางไกล (Telecommuting)
เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ติดต่อระหว่างบ้านกับสำนักงาน โดยผู้ปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติงานที่บ้านแล้วส่งงานดังกล่าวไปยังที่ทำงาน ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของตนเองเข้ากับคอมพิวเตอร์ของสำนักงานเพื่อเข้าไปใช้โปรแกรม
4.ระบบสนับสนุนสำนักงาน
ระบบเครือข่าย(Network)
-อินทราเน็ต (Intranet) คือ ระบบเครือข่ายภายในองค์กร
-อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ ระบบเครือข่ายผู้ใช้สามารถทราบข้อมูลที่ต้องการจากทั่วโลกได้โดยไม่จำกัดผู้ใช้งาน
ระบบแสงสว่าง 
แสงสว่างที่พอเหมาะจะมีส่วนช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานปฏิบัติงานได้ดีขึ้นลดความเมื่อยล้าของดวงตาลง
ระบบไฟฟ้า
เครื่องควบคุมแรงดันไฟฟ้า (Voltage Stabilizer) เครื่องรักษาสภาพไฟฟ้า (Line Conditioner) และเครื่องสำรองไฟ (Uninteruptable Power system) เป็นต้น
ระบบรักษาความปลอดภัย
หมายรวมถึง การป้องกันอัคคีภัย การโจรกรรม และการทุจริตในการทำงาน . เช่น อุปกรณ์ตรวจสอบผู้ที่ผ่านเข้า-ออก โดยใช้บัตรผ่าน โทรทัศน์วงจรปิด
การวางผังห้องทำงาน
การวางผังอุปกรณ์สำนักงานและโต๊ะทำงานให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม มีลำดับโต๊ะตามสายงาน จะช่วยให้การทำงานสะดวกรวดเร็วขึ้น
แหล่งที่มา   hthttps://sites.google.com/site/knowhowbybizcom/ois                   tp://www.cmprice.com/forum/?content=detail&wb_type_id=14&topic_id=2662

การสืบค้นข้อมูลใน google มีกี่ประเภทอะไรบ้างถ้าเป็นประเภทของข้อมูลจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1. ข้อมูลปฐมภูมิ  2. ข้อมูลทุติยภูมิ
     ส่วนการสืบค้นข้อมูลยังไม่เคยอ่านที่ไหนว่ามีกี่ประเภทนะครับ ถ้าเป็นผมจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การสืบค้นข้อมูลด้วยตนเอง และการสืบค้นข้อมูลด้วย Search Engine  การสืบค้นข้อมูลด้วยตนเอง เป็นการสืบค้นข้อมูลตามห้องสมุดต่างๆ โดยปกติเราจะสืบค้นข้อมูลหัวเรื่องที่เราต้องการจากตู้เก็บบัตรรายการซึ่งเรียงลำดับตามหลักการของห้องสมุด เพื่อให้รู้ว่าหนังสือหรือวารสารที่เราต้องการนั้นอยู่ในชั้นหรือหมวดหมู่ไหน ก่อนที่จะเข้าถึงข้อมูลซึ่งเป็นหนังสือหรือวารสารนั้นๆ ก่อน จะส่วนการสืบค้นข้อมูลด้วย Search Engine จะเป็นการสืบค้นข้อมูลโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ก็คือคอมพิวเตอร์ โดยเข้าไปยังเว็บไซต์ซึ่งให้บริการการสืบค้นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เว็บไซต์ของ Google Yahoo เป็นต้นครับ  วิธีสืบค้นข้อมูลมีดังนี้
1.ทางอินเตอร์เน็ต
2.ตามระหัสหมวดของห้องสมุด
3.ระบบห้องสมุดออนไลน์
4.ระบบเน็ทเวอร์คห้องสมุด
5.วารสาร
6.ตำราวิจัย
แหล่งที่มา   http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=24cf4e89f3ea3026

วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556

1.ประโยชน์ของระบบสารสนเทศที่เด่นชัด
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับความสนใจนำมาใช้งานในหลายลักษณะและเกือบทุกธุรกิจ โดยที่พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศได้ส่งผลกระทบในวงกว้างไปทุกวงการทั้งภาคเอกชนและราชการ ระบบสารสนเทศช่วยสร้างประโยชน์ต่อการดำเนินงานขององค์กรได้ดังนี้
1. ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์เนื่องจากข้อมูลถูกจัดเก็บและบริหารอย่างเป็นระบบ ทำให้ผู้บริหารสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วในรูปแบบที่เหมาะสมและสามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ทันต่อความต้องการ
2. ช่วยในการกำหนดเป้าหมายกลยุทธ์และการวางแผนปฏิบัติการ โดยผู้บริหารสามารถนำข้อมูลที่ได้จากระบบสารสนเทศมาช่วยในการวางแผนและกำหนดเป้าหมายในการดำเนินงานเนื่องจากสารสนเทศถูกรวบรวมและจัดการอย่างเป็นระบบ ทำให้มีประวัติของข้อมูลอย่างต่อเนื่อง สามารถที่จะบ่งชี้แนวโน้มของการดำเนินงานว่าน่าจะเป็นไปในลักษณะใด
3. ช่วยในการตรวจสอบการดำเนินงาน เมื่อแผนงานถูกนำไปปฏิบัติในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ผู้ควบคุมจะต้องตรวจสอบผลการดำเนินงานโดยนำข้อมูลบางส่วนมาประมวลผลเพื่อประกอบการประเมิน สารสนเทศที่ได้จะแสดงให้เห็นผลการดำเนินงานว่าสอดคล้องกับเป้าหมายที่ต้องการเพียงไร
4. ช่วยในการศึกษาและวิเคราะห์สาเหตูของปัญหา ผู้บริหารสามรถใช้ระบบสารสนเทศประกอบการศึกษาและการค้นหาสาเหตุ หรือข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการดำเนินงาน ถ้าการดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ โดยอาจจะเรียกข้อมูลเพิ่มเติมออกมาจากระบบ เพื่อให้ทราบว่าความผิดพลาดในการปฏิบัติงานเกิดขึ้นจากสาเหตุใด หรือจัดรูปแบบสารสนเทศในการวิเคราะห์ปัญหาใหม่
      5. ช่วยให้ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น เพื่อหาวิธีควบคุม ปรับปรุงและแก้ไขปัญหา สารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลจะช่วยให้ผู้บริหารวิเคราะห์ว่าการดำเนินงานในแต่ละทางเลือกจะช่วยแก้ไขหรือควบคุมปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างไร ธุรกิจต้องทำอย่างไรเพื่อปรับเปลี่ยนหรือพัฒนาให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนงานหรือเป้าหมาย
    6. ช่วยลดค่าใช้จ่าย ระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพช่วยให้ธุรกิจลดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการทำงานลง เนื่องจากระบบสารสนเทศสามารถรับภาระงานที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก ตลอดจนช่วยลดขั้นตอนในการทำงาน ส่งผลให้ธุรกิจสามารถลดจำนวนคนและระยะเวลาในการประสานงานให้น้อยลง โดยผลงานที่ออกมาอาจเท่าหรือดีกว่าเดิม ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพในการแข่งขันของธุรกิจ
               จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าระบบสารสนเทศมีความสำคัญในการบริหารจัดการภายในองค์กร เพราะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันสิ่งแวดล้อมโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและมีการแข่งขันทางธุรกิจสูงองค์กรที่มีระบบการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพและเข้าถึงข้อมูลได้เร็วเท่านั้นถึงจะอยู่รอดได้ในปัจจุบันดังนั้นผู้บริหารขององค์กรนับว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทในการที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศของตนเองให้มีความทันสมัยและนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะปัจจุบันการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในวงการธุรกิจก็เพื่อลดต้นทุนการผลิต สนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารงานและใช้ในการแข่งขันทางธุรกิจ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆสำหรับองค์กร นอกจากนี้ยังสร้างความแข็งแกร่งทางด้านธุรกิจ เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าและบริการ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันนำไปสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ต่อไปในอนาคต
แหล่งที่มา : http://www.gotoknow.org/posts/380033
2.จงบอกความหมายของระบบ TPS MRS และ DSS และความแตกต่างของแต่ละระบบ
ระบบ TPS
เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึกและประมวลข้อมูลที่เกิดจากธุรกรรมหรือการปฏิบัติงานประจำหรืองานขั้นพื้นฐานขององค์การ เช่น การซื้อขายสินค้า การบันทึกจำนวนวัสดุคงคลัง เมื่อใดก็ตามที่มีการทำธุรกรรมหรือปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวข้อมูลที่เกี่ยวข้องจะเกิดขึ้นทันที เช่น ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า ข้อมูลที่เกิดขึ้นก็คือ ชื่อลูกค้า ประเภทของลูกค้า จำนวนและราคาของสินค้าที่ขายไป รวมทั้งวิธีการชำระเงินของลูกค้า
ระบบ MRS
ระบบสารสนเทศที่ช่วยในการทำรายงานตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยการสรุปสารสนเทศที่มีอยู่ไว้ในฐานข้อมูล (Haag et al., 2000:54) หรือช่วยในการตัดสินใจในลักษณะที่โครงสร้างชัดเจนและเป็นเรื่องที่ทราบล่วงหน้า
ระบบ DSS
                ระบบสารสนเทศแบบ DSS เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจ ซึ่งมีลักษณะมีโครงสร้างไม่ชัดเจน โดยนำข้อมูลมาจากหลายแหล่งช่วยในการนำเสนอและมีลักษณะยืดหยุ่นตามความต้องการ
ความแตกต่างของแต่ละระบบ
หน้าที่ของ TPS
1) การจัดกลุ่มของข้อมูล (Classification) คือ การจัดกลุ่มข้อมูลลักษณะเหมือนกันไว้ด้วยกัน
2) การคิดคำนวณ (Calculation) การคิดคำนวณโดยใช้วิธีการคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ เช่น การคำนวณภาษีขายทั้งหมดที่ต้องจ่ายในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
3) การเรียงลำดับข้อมูล (Sorting) การจัดเรียงข้อมูลเพื่อทำให้การประมวลผลง่ายขึ้น เช่น การจัดเรียง invoices ตามรหัสไปรษณีย์เพื่อให้การจัดส่งเร็วยิ่งขึ้น
4) การสรุปข้อมูล (Summarizing) เป็นการลดขนาดของข้อมูลให้เล็กหรือกะทัดรัดขึ้น เช่น การคำนวณเกรดเฉลี่ยของนักศึกษาแต่ละคน
5) การเก็บ (Storage) การบันทึกเหตุการณ์ที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน อาจจำเป็นต้องเก็บรักษาข้อมูลไว้ โดยเฉพาะข้อมูลบางประเภทที่จำเป็นต้องเก็บรักษาไว้ตามกฎหมาย ที่จริงแล้ว TPS เกี่ยวข้องกับงานทุกระดับในองค์การ แต่งานส่วนใหญ่ของ TPS จะเกิดขึ้นในระดับปฏิบัติการมากกว่า แม้ว่า TPS จะจำเป็นในการปฏิบัติงานในองค์การแต่ระบบ TPS ก็ไม่เพียงพอในการสนับสนุนในการตัดสินใจของผู้บริหาร ดังนั้นองค์การจึงจำเป็นต้องมีระบบอื่นสำหรับช่วยผู้บริหารด้วย ดังจะกล่าวต่อไป
หน้าที่ของแบบ MRS
1) ช่วยในการตัดสินใจงานประจำของผู้บริหารระดับกลาง
2) ช่วยในการทำรายงาน
3) ช่วยในการตัดสินใจที่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยๆ และมีโครงสร้างแน่นอน เช่น การอนุมัติสินเชื่อให้กับลูกค้า
แหล่งที่มา : http://elearning.northcm.ac.th/it/lesson8-1.asp
แบบฝึกหัด บทที่2 .ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและองค์กร
   1.ในการทำธุรกรรมทางการเงินในองค์กรธุรกิจใช้โปรแกรมใดได้บ้าง เช่น
       โปรแกรมระบบบัญชี FORMULA
     มีระบบ Management Information System (MIS) และระบบวิเคราะห์การเงิน (Financail Analysis System) สำหรับผู้บริหารในการนำข้อมูลไปใช้ประกอบการตัดสินใจบริหารโดยเฉพาะเมื่อระบบการจัดการ ระบบวิเคราะห์ ผนวกกับข้อมูลการเงิน ฝ่ายบริหารจะรู้ถึงสถานะภาพที่แท้จริงได้ในทันที ทำให้ธุรกิจมีการปรับกลยุทธ์ได้รวดเร็ว และมีความพร้อมต่อการรับมือกับธุรกิจข้ามชาติที่ใช้ ITเป็นอาวุธ

โปรแกรมบัญชีFormula ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Native Windows ซึ่งได้ติดตั้งให้กับบริษัทชั้นนำไปแล้วมากมาย เนื่องจาก Protential Products เป็นสิ่งที่ลูกค้ายอมรับอย่างเป็นวงกว้าง ระบบ Financial Management ของ โปรแกรมบัญชี FORMULA มีอยู่ 2 รุ่น คือ รุ่น Lite และรุ่น Lan ที่รองรับธรกิจขนาดกลางถึงใหญ่ และยังพร้อมจะต่อขยายไปยังรุ่น Client/Server เพิ่มความแข็งแกร่งของข้อมูลด้วยการดูแลของ DBMS เพื่อให้เป็น OLTP ที่พร้อมจะเชื่อมต่อในการทำ OLAP ( Online Analytical Process) ได้เพื่อการวิเคราะห์และการตัดสินใจ ความสามารถเหล่านี้ เป็นประสบการณ์ที่ทางทีมงานของบริษัท คริสตอลซอฟท์แวร์แพ็คเกจ จำกัด ผู้ผลิตซอฟท์แวร์บัญชี และซอฟท์แวร์ ERP ซึ่งได้รวบรวมจากความหลากหลายของธุรกิจในประเทศไทยมานานกว่า 10 ปี และก้าวไปอย่างไม่หยุดยั้ง พร้อมกับการเติบโตของลูกค้าที่ทางโปรแกรม FORMULA ได้เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ
        แหล่งที่มา    http://www.plusmainfotech.com/formulaerp.php
2.การบริหารงานแบบTQM และBPR คืออะไรและแตกต่างกันอย่างไร
TQM
      คือ  มีความหมายเป็นพลวัต มีพัฒนาการ เป็นวัฒนธรรมขององค์การที่สมาชิกทุกคนต่างให้ความสำคัญ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาการดำเนินงานขององค์การอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งที่จะตอบสนองความต้องการ และสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้า ซึ่งจะสร้างโอกาส ความได้เปรียบในการแข่งขัน และพัฒนาการที่ยั่งยืนขององค์กร   และด้วยการตื่นตัวด้านการดำเนินงานคุณภาพ ทำให้ผู้บริหารองค์กรต่างให้ความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพทั้งองค์กร TQM เป็นหลักการบริหารที่มีความหมายบูรณาการเข้ากับทุกส่วนขององค์กร เพื่อแก้ปัญหา สร้างคุณค่าเพิ่ม การควบคุมต้นทุน การปรับโครงสร้างองค์กร และมีคุณประโยชน์ต่อองค์กรอย่างมหาศาล     TQM จึงเป็นทางเลือกและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อช่วยให้ธุรกิจได้เปรียบในการแข่งขันและก้าวไปข้างหน้า
              การบริหารเชิงคุณภาพโดยรวม เป็นการจัดระบบและวินัยในการทำงานเพื่อป้องกันความผิดพลาดเสียหาย และมุ่งสร้างคุณค่าในกระบวนการทำงานทุก ๆ ขั้นตอน โดยที่ทุกคนในองค์การต้องมีส่วนร่วม ซึ่งจะทำให้เป็นปัจจัยสำคัญในการก้าวไปสู่ความเป็นเลิศ ทั้งในด้านการบริหารองค์การ การบริหารการผลิต การบริหารการตลาด การบริหารลูกค้า การบริหารบุคคล และการบริหารการเงิน
BPR
       คือ การคิดทบทวนกระบวนการทางธุรกิจ เพื่อออกแบบกระบวนการทางธุรกิจใหม่หรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการทางธุรกิจอย่างถอนราก ทั้งนี้เพื่อให้ธุรกิจดีขึ้นในแง่ต่างๆ ได้แก่ค่าใช้จ่าย คุณภาพ การบริหาร ความรวดเร็วของกระบวนการ และอีกหลายๆ ด้าน
     ผู้ทำงานด้าน BPR ส่วนมากทบทวนกระบวนการตั้งแต่รากฐานเลย เพราะเขาไม่สนใจการรับปรุงเพื่อเล็กน้อยด้วยเหตุนี้ BPR จึงไม่เหมาะกับบริษัทที่ต้องการปรับปรุงทางธุรกิจให้ดีขึ้น  แต่ BPR เหมาะกับบริษัทที่ต้องการปรับปรุงธุรกิจอย่างามหาศาล BPR จะมุ่งเน้นที่การพัฒนากระบวนการมากกว่าการพัฒนาบุคลากรหรือชิ้นงาน
การบริหารงานแบบTQM และBPR แตกต่างกันคือ...?
         ถึงแม้ว่าองค์การธุรกิจในปัจจุบันหลายแห่งได้มีความพยายามในการก้าวไปสู่ N-form และ ได้มีการนำเอาเทคนิควิธีการต่าง ๆ เข้ามาใช้ประโยชน์กันอย่างค่อนข้างกว้างขวางแล้ว เช่น การรื้อปรับระบบงาน (BPR) การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ (TQM) Economic Value Added (EVA) และ Balanced Scorecards (BSC) รวมไปจนถึงการกระจายอำนาจและการเพิ่มพลังอำนาจ เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่ ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จตามเจตนารมย์ที่ต้องการ ซึ่งมักจะมีการสรุปประเด็นปัญหาว่าอาจเกิดขึ้นมาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ขาดความเอาใจใส่จริงจังของผู้บริหารระดับสูงไม่มีการสื่อสารทำความเข้าใจที่ดีพอ เป็นต้น แท้ที่จริงแล้ว ปัจจัยประการสำคัญที่มักจะถูกมองข้ามไปอยู่เสมอ คือ การงบประมาณ
  แหล่งที่มา

3. การจัดการความรู้(KM) คืออะไร
การจัดการความรู้ หรือเคเอ็ม (KM = Knowledge Management)
        คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพอันจะส่งผลให้องค์กรมี     ความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ
        1) ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
        2) ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
  
แหล่งที่มา  http://km.spr.go.th