วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัด บทที่2 .ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและองค์กร
   1.ในการทำธุรกรรมทางการเงินในองค์กรธุรกิจใช้โปรแกรมใดได้บ้าง เช่น
       โปรแกรมระบบบัญชี FORMULA
     มีระบบ Management Information System (MIS) และระบบวิเคราะห์การเงิน (Financail Analysis System) สำหรับผู้บริหารในการนำข้อมูลไปใช้ประกอบการตัดสินใจบริหารโดยเฉพาะเมื่อระบบการจัดการ ระบบวิเคราะห์ ผนวกกับข้อมูลการเงิน ฝ่ายบริหารจะรู้ถึงสถานะภาพที่แท้จริงได้ในทันที ทำให้ธุรกิจมีการปรับกลยุทธ์ได้รวดเร็ว และมีความพร้อมต่อการรับมือกับธุรกิจข้ามชาติที่ใช้ ITเป็นอาวุธ

โปรแกรมบัญชีFormula ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Native Windows ซึ่งได้ติดตั้งให้กับบริษัทชั้นนำไปแล้วมากมาย เนื่องจาก Protential Products เป็นสิ่งที่ลูกค้ายอมรับอย่างเป็นวงกว้าง ระบบ Financial Management ของ โปรแกรมบัญชี FORMULA มีอยู่ 2 รุ่น คือ รุ่น Lite และรุ่น Lan ที่รองรับธรกิจขนาดกลางถึงใหญ่ และยังพร้อมจะต่อขยายไปยังรุ่น Client/Server เพิ่มความแข็งแกร่งของข้อมูลด้วยการดูแลของ DBMS เพื่อให้เป็น OLTP ที่พร้อมจะเชื่อมต่อในการทำ OLAP ( Online Analytical Process) ได้เพื่อการวิเคราะห์และการตัดสินใจ ความสามารถเหล่านี้ เป็นประสบการณ์ที่ทางทีมงานของบริษัท คริสตอลซอฟท์แวร์แพ็คเกจ จำกัด ผู้ผลิตซอฟท์แวร์บัญชี และซอฟท์แวร์ ERP ซึ่งได้รวบรวมจากความหลากหลายของธุรกิจในประเทศไทยมานานกว่า 10 ปี และก้าวไปอย่างไม่หยุดยั้ง พร้อมกับการเติบโตของลูกค้าที่ทางโปรแกรม FORMULA ได้เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ
        แหล่งที่มา    http://www.plusmainfotech.com/formulaerp.php
2.การบริหารงานแบบTQM และBPR คืออะไรและแตกต่างกันอย่างไร
TQM
      คือ  มีความหมายเป็นพลวัต มีพัฒนาการ เป็นวัฒนธรรมขององค์การที่สมาชิกทุกคนต่างให้ความสำคัญ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาการดำเนินงานขององค์การอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งที่จะตอบสนองความต้องการ และสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้า ซึ่งจะสร้างโอกาส ความได้เปรียบในการแข่งขัน และพัฒนาการที่ยั่งยืนขององค์กร   และด้วยการตื่นตัวด้านการดำเนินงานคุณภาพ ทำให้ผู้บริหารองค์กรต่างให้ความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพทั้งองค์กร TQM เป็นหลักการบริหารที่มีความหมายบูรณาการเข้ากับทุกส่วนขององค์กร เพื่อแก้ปัญหา สร้างคุณค่าเพิ่ม การควบคุมต้นทุน การปรับโครงสร้างองค์กร และมีคุณประโยชน์ต่อองค์กรอย่างมหาศาล     TQM จึงเป็นทางเลือกและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อช่วยให้ธุรกิจได้เปรียบในการแข่งขันและก้าวไปข้างหน้า
              การบริหารเชิงคุณภาพโดยรวม เป็นการจัดระบบและวินัยในการทำงานเพื่อป้องกันความผิดพลาดเสียหาย และมุ่งสร้างคุณค่าในกระบวนการทำงานทุก ๆ ขั้นตอน โดยที่ทุกคนในองค์การต้องมีส่วนร่วม ซึ่งจะทำให้เป็นปัจจัยสำคัญในการก้าวไปสู่ความเป็นเลิศ ทั้งในด้านการบริหารองค์การ การบริหารการผลิต การบริหารการตลาด การบริหารลูกค้า การบริหารบุคคล และการบริหารการเงิน
BPR
       คือ การคิดทบทวนกระบวนการทางธุรกิจ เพื่อออกแบบกระบวนการทางธุรกิจใหม่หรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการทางธุรกิจอย่างถอนราก ทั้งนี้เพื่อให้ธุรกิจดีขึ้นในแง่ต่างๆ ได้แก่ค่าใช้จ่าย คุณภาพ การบริหาร ความรวดเร็วของกระบวนการ และอีกหลายๆ ด้าน
     ผู้ทำงานด้าน BPR ส่วนมากทบทวนกระบวนการตั้งแต่รากฐานเลย เพราะเขาไม่สนใจการรับปรุงเพื่อเล็กน้อยด้วยเหตุนี้ BPR จึงไม่เหมาะกับบริษัทที่ต้องการปรับปรุงทางธุรกิจให้ดีขึ้น  แต่ BPR เหมาะกับบริษัทที่ต้องการปรับปรุงธุรกิจอย่างามหาศาล BPR จะมุ่งเน้นที่การพัฒนากระบวนการมากกว่าการพัฒนาบุคลากรหรือชิ้นงาน
การบริหารงานแบบTQM และBPR แตกต่างกันคือ...?
         ถึงแม้ว่าองค์การธุรกิจในปัจจุบันหลายแห่งได้มีความพยายามในการก้าวไปสู่ N-form และ ได้มีการนำเอาเทคนิควิธีการต่าง ๆ เข้ามาใช้ประโยชน์กันอย่างค่อนข้างกว้างขวางแล้ว เช่น การรื้อปรับระบบงาน (BPR) การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ (TQM) Economic Value Added (EVA) และ Balanced Scorecards (BSC) รวมไปจนถึงการกระจายอำนาจและการเพิ่มพลังอำนาจ เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่ ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จตามเจตนารมย์ที่ต้องการ ซึ่งมักจะมีการสรุปประเด็นปัญหาว่าอาจเกิดขึ้นมาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ขาดความเอาใจใส่จริงจังของผู้บริหารระดับสูงไม่มีการสื่อสารทำความเข้าใจที่ดีพอ เป็นต้น แท้ที่จริงแล้ว ปัจจัยประการสำคัญที่มักจะถูกมองข้ามไปอยู่เสมอ คือ การงบประมาณ
  แหล่งที่มา

3. การจัดการความรู้(KM) คืออะไร
การจัดการความรู้ หรือเคเอ็ม (KM = Knowledge Management)
        คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพอันจะส่งผลให้องค์กรมี     ความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ
        1) ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
        2) ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
  
แหล่งที่มา  http://km.spr.go.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น